มาตรฐานจีเอ็มพี...หนีไข้หวัดนก...
ค่อนข้างเป็นที่ฮือฮากันนะคะ เมื่อประเทศไทยได้ทำสถิติ ที่คาดไม่ถึงเกี่ยวกับ ไข่พะโล้หม้อใหญ่ ที่สุดในโลกจำนวน 10,000 ฟอง ออกข่าวไปทั่วโลกแหม... ประเทศอื่นเขาไม่มีไข่พะโล้... มันก็ไม่แปลกหรอกค่ะ ที่เราจะได้สถิติกันไป ... ใช่แล้วค่ะ...แม่อบเชยกำลังพูดถึง งานมหกรรมกินไก่ไทย ที่ท้องสนามหลวงและศาลากลางจังหวัดต่างๆ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านนี้แหละค่ะ...
ความจริง...รัฐบาลไทยของเราห่วงใยสุขภาพอนามัย ของผู้บริโภคมานานแล้วนะคะ ไม่ใช่เฉพาะช่วงนี้หรอกค่ะ โดยจะเป็นได้จากเรื่อง ที่รัฐกำหนดมาตรฐานจีเอ็มพี เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอาหารค่ะ ซึ่งถือเป็นการยกระดับมาตรฐาน ความปลอดภัยใน การผลิตอาหารของไทยเราค่ะ ซึ่งมีอาหารอยู่ 54 ประเภทที่จะต้องปฏิบัติตาม ระบบจีเอ็มพี (Good Manufacturing Practice) หรือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี ในการผลิต ผู้ที่ฝ่าฝืนจะมี ความผิดตามกฏหมาย ถูกปรับ 10,000 บาท เท่ากับจำนวนไข่ในหม้อพะโล้ ที่เราได้ลงกินเนสบุ๊คเลยล่ะคะ และถูกจะถูกระงับการผลิต ไปจนกว่าจะมีการแก้ไขให้เป็นไปตามกฏนะคะ
อาหารที่จะต้องเข้ามาตรฐานจีเอ็มพีได้แก่
(1) อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารก (2) อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก
(3) นมดัดแปลงสำหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารก
(4) น้ำแข็ง (5) น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท (6) เครื่องดื่มที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท
(7) อาหารที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท (8) นมโค (9) นมเปรี้ยว
(10) ไอศครีม (11) นมปรุงแต่ง (12) ผลิตภัณฑ์ของนม (13)
วัตถุเจือปนอาหาร (14) สีผสมอาหาร (15) วัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร
(16) โซเดียมซัลคาเมตและอาหารที่มีโซเดียมซัลคาเมต (17)
อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก (18) ชา (19) กาแฟ
(20) น้ำปลา (21) น้ำแร่ (22) น้ำส้มสายชู (23) น้ำมันและไขมัน
(24) น้ำมันถั่วลิสง (25) ครีม (26) น้ำมันเนย (27) เนย
(28) เนยแข็ง (29) เนยใส (30) เนยเทียม (31) อาหารกึ่งสำเร็จรูป
(32) ซอสบางชนิด (33) น้ำมันปาล์ม (34) น้ำมันมะพร้าว
(35) เครื่องดื่มเกลือแร่ (36) น้ำนมถั่วเหลือ (37) ช็อคโกแลต
(38) แยม เยลลี่ มาร์มาเลด (39) อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
(40) ไข่เยี่ยวม้า (41) รอยัลเยลลี่และผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี่
(42) ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือ
(43) น้ำผึ้ง (44) ข้าวเติมวิตามิน (45) แป้งข้าวกล้อง
(46) น้ำเกลือปรุงอาหาร (47) ซอส (48) ขนมปัง (49) หมากฝรั่งและลูกอม
(50) วุ้นเส้นสำเร็จรูปและเยลลี่ (51) ผลิตภัณฑ์กระเทียม
(52) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ (53) วัตถุแต่งกลิ่นและรส
(54) อาหารแช่เยือกแข็ง
อาหารที่มีรายชื่อที่อยู่ในรายการข้างต้นนี้ หากผ่านมาตรฐานจีเอ็มพี แล้วก็สบายใจได้นะคะ ถ้าจะบริโภค ซึ่งเนื้อไก่ก็เป็นหนึ่งในรายการข้างต้นด้วย แต่อาจจะพิเศษอยู่สักหน่อย ตรงที่ต้องประกอบอาหารอย่างถูกสุขลักษณะด้วย คืออุณหภูมิต้องสูงถึง 70 องศาไม่ต้องถึงกับ ไปหาซื้อปรอทมาไว้วัดอุณหภูมิไก่เวลาปรุงอาหารหรอกนะคะ เพราะสามารถสังเกตจาก น้ำที่ใช้ประกอบอาหารได้ค่ะ ถ้าน้ำเดือดก็เป็นอันว่าใช้ได้ เพราะจุดเดือดของน้ำนั้น 100 องศาค่ะ ถ้าถึงขั้นน้ำเดือดแล้ว เชื้อหวัดนกก็ถูกทำลาย ไปเรียบร้อยล่ะค่ะ แต่ต้องเดือดนาน พอสมควรนะคะ ไม่ใช่เดือดปุ๊บยกลงปั๊บนะคะ สำหรับกรรมวิธีอื่นๆ จะปิ้ง จะย่าง จะรมควันจะอบอะไรก็พิจารณาให้ดี ให้สุกสนิทค่อยรับประทาน แต่อย่าถึงขั้นให้ไหม้เกรียมนะคะ เพราะจะกลายเป็นสารก่อมะเร็งแทนค่ะ
เอาล่ะค่ะ
... หวัดนกอาจจะเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ก็ไม่ควรวิตกจนเกินเหตุนะคะ โดยเฉพาะเรื่องการกินไก่นั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด ...ถ้าปรุงให้สุกตามกรรมวิธีที่บอกไป ก็ไม่น่ากังวลที่จะรับประทานหรอกค่ะ ไม่อย่างนั้นท่านผู้นำประเทศ คงไม่ลงทุนไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ ให้ไก่ทอดผู้พัน ตั้งหลายครั้งหลายคราหรอก...ใช่ไหมคะ...แต่สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ แม่อบเชยเป็นห่วง ที่สุด ที่ควรปรับปรุง พฤติกรรมบริโภคกันอย่างยิ่งในช่วงนี้ คือกลุ่ม ปอบ ค่ะ เพราะเท่าที่ทราบมา กลุ่มนี้นิยมรับประทานไก่ดิบๆ กันเกือบทั้งสิ้นนั่นเอง... ควรปรับปรุงพฤติกรรมด่วน มิฉะนั้นอาจจะอันตรายในหลายด้านตามมานะคะ
แล้วก็ก่อนไปวันนี้
ขอนินทาคนใกล้ตัวหน่อยเถอะค่ะ กรณีกลัวไข้หวัดนกเกินพิกัดนี่น่ะค่ะ... เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แม่อบเชยไปกิน Fast food ที่ร้านแห่งหนึ่ง (โดยจรรยาบรรณแล้ว ไม่สามารถเปิดเผยชื่อร้านได้นะคะ) แม่อบเชยสั่งอาหารประเภทปลา แต่ว่าอยากจิ้มน้ำจิ้มไก่
ก็ถูกห้ามไว้ด้วยเหตุผลที่ว่า .เผื่อไข้หวัดนก จะติดต่อมาทางน้ำจิ้มไก่... อย่าเพิ่งกินเลยนะ... เฮ่อ...เพิ่งรู้ว่า... ไข้หวัดนกมีลักษณะการติดเชื้อเช่นเดียวกับ ยาสั่ง เพียงเอ่ยชื่อ ไก่ ก็ติดหวัดนกได้ซะแล้ว....
กลับไปหน้ารู้ไว้ใช่ว่า สาระน่ารู้
|