จีเอ็มโอ...โกลด์ซีรีส์ จนวันนี้กับความไม่รู้ของผู้บริโภค
(ตอน 2)
เรื่องนี้ประเทศทางยุโรปค่อนข้างจะมองเห็นภัยหลายอย่างชัดเจน เนื่องจากเคยมีประสบการณ์ในช่วงปี 1960 เรื่องยาแก้แพ้ทอง แล้วทำให้ทารกทาริกา ชาวยุโรปค่อนประเทศในช่วงปีสองปีต่อมา แขนขาลีบ และนอกจากนี้ยุโรปเองก็ไม่ได้ลงทุนอะไรมากมายนักกับค้นคว้าเรื่องนี้ จึงไม่มีปัจจัยอะไรที่จะมาทำให้ต้องสนับสนุนจีเอ็มโอ ต่างจากอเมริกาที่ลงทุนเพื่อพัฒนาไปนับแสนล้านบาท
ดังนั้นจึงจะต้องมีการเรียกทุนคืน เช่น การพัฒนาพืชและสัตว์ ให้มีลักษณะสมบูรณ์แบบกว่าที่ธรรมชาติให้มา เป็นพืชที่ทนโรค ทนต่อสภาพภูมิอากาศ
ให้ผลผลิตมาก เก็บได้นานทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายสารเคมียาฆ่าแมลง ทำให้ต้นทุนสินค้าถูก ส่งออกแข่งขันได้ง่าย และสำหรับสัตว์ก็ตัดต่อพันธุกรรม เพื่อให้ทนต่อโรคติดต่อ มีเนื้อเยื่อหรือน้ำนมมากๆ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์จากอเมริกา
จึงดูเหมือนว่าจะมีคุณภาพชนิดควบคุมได้อย่างยอดเยี่ยม แถมส่งออกในราคาที่ต่ำกว่าประเทศอื่น
แล้วทำไมตลาดจะไม่ถูกตีแตกกระจุย ใช่ไหมคะ
ในขบวนการตัดต่อเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของจีเอ็มโอนั้น
เกือบจะทุกครั้งต้องใช้ไวรัสเป็นพาหะ ช่วยในการตัดต่อเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมค่ะ
แล้วถ้าสมมติว่าไวรัส เกิดเล็ดลอดออกมาได้ โดยความพลาดพลั้งของผู้ดำเนินการ หรืออุบัติเหตุ หรือความประมาทอะไรก็ตามนั้น จะเกิดอะไรขึ้นคะ อาจจะก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่ปรากฏในหนังฮอลลีวูดอยู่บ่อยๆ หรอกค่ะ
แถมการกระจายของไวรัสนั้น สามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่ง ไปยังอีกคนหนึ่งได้ง่ายมากค่ะ แล้วทีนี้ล่ะเจ้าข้าเอ๊ย
. หากมันลุกลามใหญ่โตขึ้นมาจริงๆ
จนอาจเกินการควบคุม มนุษย์อาจจะสูญพันธ์ไปก็ได้นะคะ
แล้วถ้าสมมติว่า
ขบวนการ GMO'S แพร่หลายต่อไป พืชหรือสัตว์ต่างก็ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมทั้งนั้น ไม่มีการปลูกหรือเลี้ยงธรรมชาติ
ดังนั้นพืชหรือสัตว์ธรรมชาติบางชนิด ก็อาจจะสูญพันธ์ได้นะคะ ความหลากหลายทางธรรมชาติก็จะลดลง ดุลยภาพของระบบนิเวศน์ก็จะผิดเพี้ยนไป แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร
อยู่กับโลกใบที่มีแต่มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพด มัน ปาล์ม อ้อย ถั่วเหลือง
คะน้า ผักกาดขาว และพริกจีเอ็มโอ ส่วนสัตว์ทั้งลหลาย ก็อาจจะเหลือเพียง
วัว หมู ไก่ ปลา และหอยเชลล์ หรืออะไรอื่นอีก 2-3 ชนิดที่มนุษย์โลกชื่นชอบเหมือนๆ
กันนั่นเองค่ะ แล้วโลกเราจะน่าอยู่ได้อย่างไร ที่สำคัญนะคะ หากว่าเชื่อจุลชีพทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเป็นไวรัส หรือบัคเตรีต่างๆ ที่ใช้ในการตัดต่อนั้น สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ได้พัฒนาตัวเองขึ้นมา จนสามารถก่ออันตรายต่อพืช หรือสัตว์นั้นได้
ก็จะทำให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็วรุนแรง จนควบคุมไม่ได้ เพราะตัวแปรทางธรรมชาติอื่นๆ ก็สูญหายไปหมดแล้ว
. ไม่อยากสรุปด้วยประโยคข้างต้นเลยค่ะว่า
มนุษย์จักสูญพันธุ์
. เพราะมันดูเลวร้ายเหลือเกิน
ทีนี้
เราลองมามองจีเอ็มโอในแง่ดีกันดูบ้างนะคะว่า สาเหตุของการคิดค้น GMOs ขึ้นมานี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากว่า ความวิตกกังวลเรื่องความขาดแคลนอาหาร ของประชากรโลกในอนาคต จึงได้มีการหาทางที่จะเพิ่มปริมาณเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ ของประชากรโลก ดังนั้น หากว่าวันหนึ่งในอนาคตที่เราจำเป็นจะต้องบริโภคอาหาร ที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมนี้
เราเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน แม่สาลิกาว่า ก็คงเหมือนคำถามของใครๆ เมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว ว่าเราจะทนดมกลิ่นควันพิษกันได้อย่างไร หากมันควันคลุ้งไป ประหนึ่งถูกไฟสุมอยู่ทั้งวันทั้งคืนทั่วเมืองเช่นนี้ แต่เมื่อวันนี้มาถึง ปอดเราก็แข็งแรงกันพิลึก
กรองได้ทุกอย่างยิ่งกว่ารายการ "กรองสถานการณ์" เสียอีกค่ะ
นอกจากนี้นะคะ
ในความเป็นจริงก็คือว่า ปัจจุบันนี้ก็ได้มีผลิตภัณฑ์ จีเอ็มโอจำนวนมาก ที่ปะปนอยู่ในตลาดแล้วค่ะ โดยเฉพาะในประเทศไทย
เรามียากว่า 80 ชนิดที่เป็นจีเอ็มโอ และอยู่ระหว่างการใช้กับผู้ป่วยกว่า
200 ล้านคนทั่วโลก เช่น อินซูลิน ที่ใช้รักษากับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือยาประเภทแอนตี้ไบโอติก รวมทั้งมีผู้ป่วยอีกหลายสิบล้านคน ที่รอผลการวิจัยตัวยาชนิดใหม่
ที่มีแนวโน้มว่าจะมาจากการตัดต่อพันธุกรรมอีกกว่า 350 ชนิด นอกจากนี้ยังพบว่า
75% ของเอนไซม์ ที่ใช้ผลิตเนยแข็งทั่วโลก ยีสต์ที่นำมาใช้ประโยชน์
เกือบทุกชนิดในโลก หรือแม้กระทั่ง เอนไซม์ที่อยู่ในผงซักฟอก ก็มาจากการตัดต่อพันธุกรรมค่ะ
กลับออกไปมองทั่วโลกกันอีกทีค่ะ
ขณะที่มีการต่อต้านจีเอ็มโอกันอยู่นี้ ก็ได้การทดลองการตัดต่อพันธุกรรมกับพืช ไปแล้วกว่า 4,500 ชนิด
มีปริมาณการซื้อขายกันในท้องตลาด กว่า 3,000 ล้านบาท ดังนั้น หากถามว่า เราอยู่ห่างไกลจีเอ็มโอกันไหม คำตอบสุดท้ายก็คือ "ไม่" และยิ่งนับวันจะใกล้เข้าไปทุกที
แม่สาลิกาว่า วิทยาการทุกอย่าง เป็นดาบ 2 คมค่ะ อยู่ที่ว่าเราจะนำมาใช้อย่างไร
ระมัดระวังเพียงใด เพราะหากใช้อย่างไม่มีสติ ก็อาจฉวยพลาดพลั้งจบเห่ได้ง่ายๆ แต่หากรู้จักนำมาใช้ให้ถูกทิศถูกทาง ก็อาจจะช่วยให้อะไรหลายอย่าง ก้าวหน้าไปอีกเยอะเหมือนกันนะคะ
แม่สาลิกาอาจจะได้รายงานข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มเติมในเร็วๆ นี้โดยที่ไม่ต้องนับนิ้วรอก็ได้ค่ะ
กลับไปหน้ารู้ไว้ใช่ว่า สาระน่ารู้
|