รู้ไว้ใช่ว่า สาระน่ารู้ : บทความเกี่ยวกับอาหารไทย

 


 


 
 

ช็อคโกแลต ขนมหวานแห่งเทพเจ้าและวันวาเลนไทน์

ช็อคโกแลตแสนอร่อย กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ ที่เคียงข้างไปกับ ดอกกุหลาบช่อโต สำหรับเป็น ของขวัญวันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) จากคนรักสู่คนรักนั้น มีความเป็นมาอย่างไร ประวัติยาวไกลหลายหมื่นลี้ค่ะ มีมานานมากแล้ว ถ้าเปรียบเทียบแบบไทยๆ เราก็คงเรียกว่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาโน่นเลยแหละค่ะ "ช็อคโกแลต" ค้นพบครั้งแรกเมื่อ 4000 ปีที่แล้ว ในอาณาจักร Aztec และ Maya ซึ่งเป็นเครื่องดื่ม ที่ผสมขึ้นมาจากเมล็ดของต้นโกโก้ และเรียกชื่อว่า Cocoat ซึ่ง Emperor Montezuma นิยามว่าเป็นเครื่องดื่มจากสรวงสวรรค์เลยทีเดียว
เมื่อปี 1528 เป็นปีที่สเปนมีชัยชนะต่ออาณาจักร Aztec และ Maya จึงได้นำ Cocoatl กลับไปยังสเปนด้วยและเรียกชื่อใหม่ว่า cho-co-LAH-tay และในปี 1615 ช็อคโกแลตก็ได้เผยโฉมต่อสังคมของอายรธรรมใหม่ครั้งแรก ในงานสมรสของเชื้อพระวงศ์แห่งฝรั่งเศส และจากนั้นก็จึงแพร่หลายเข้าสู่อังกฤษในเวลาต่อมา
ในปี 1765 ช็อคโกแลตได้เดินทางไกลอีกครั้งไปสู่สหรัฐอเมริกาโดยการ ชักนำเข้าสู่วงการของ John Hanan ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก Dr. James Baker ในด้านการวิจัยและการผลิต ไม่นานโรงงานผลิตช็อคโกแลต ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกานั่นเอง
ในช่วงแรกๆ นั้นผู้ที่จะได้ลิ้มรสช็อคโกแลตจะเป็นเพียงผู้สูงศักดิ์หรือ ระดับเศรษฐีเท่านั้นเพราะว่าราคาแพงมากและถือเป็นของหายากชนิดหนึ่ง แต่เมื่อ เข้ามาสู่ยุคอารยธรรมใหม่ มีการปฏิวัติในฝรั่งเศสทำให้ระบบศักดินาล่มสลายลง และช็อคโกแลตก็เข้าถึงประชาชนทั่วไปมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อวิทยาศาสตร์ การแพทย์ค้นพบว่า ช็อคโกแลตสามารถรักษาอาการเกี่ยวกับช่องท้องได้ ทำให้ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายยิ่ง
ขึ้นช่วงแรกนั้นช็อคโกแลตยังไม่ได้มีส่วนประกอบมากมายอย่างที่เราเห็น ในปัจจุบัน ยังคงเป็นเพียงแท่งโกโก้เท่านั้น แต่เมื่อมีการค้นคว้ามากขึ้นก็สามารถ บรรจุส่วนผสมต่างๆ ลงไปได้มากขึ้น เช่น นมผง ครีม คาราเมล หรือ อัลมอนด์ ทำให้ช็อคโกแลตมีรสชาติที่หลากหลายและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมาจนบัดนี้
ปัจจุบันนี้เรายกย่องกันว่า ประเทศเบลเยี่ยมนั้น เป็นแหล่งผลิตช็อคโกแลต ที่ดีที่สุดในโลกคนที่ทำหน้าที่ในการผลิตช็อคโกแลตนั้น ได้รับการยกย่องว่า เป็นช่างฝีมือประจำชาติเลยทีเดียว น่ายินดีนะคะนอกจากจะเป็นประเทศที่ ผลิตระฆังได้ดีที่สุด (เบลล์=ระฆัง) แล้ว ก็ยังผลิตช็อคโกแลตได้เป็นเยี่ยมอีกอย่าง หนึ่งด้วย
จากตำนานของช็อคโกแลตที่นาวนานหลายพันปีนั้น ยังไม่เห็นว่าจะมีส่วนใด มาเกี่ยวข้องกับวันวาเลนไทน์ซึ่งเป็นวันสิ้นชีวิตของ St. Valentine ผู้ที่ศรัทธา ในความรักมากกว่าสงครามเลย เพราะก่อนที่ท่านจะสิ้นลมหายใจ ท่านก็ได้มอบเพียง การ์ดใบเดียวพร้อมคำว่า "Love From Your Valentine" เท่านั้นเอง ไม่มีช็อคโกแลตแนบไปด้วยแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ก็อาจจะเป็นได้ว่า เนื่องจาก ในยุคโรมันที่นักบุญวาเลนไทน์ได้เสียชีวิตนั้น ช็อคโกแลตยังเป็นของหายากจึงเป็น สิ่งที่มีค่าที่คนรักจะมอบแทนใจให้กันได้ จึงส่งไปพร้อมการ์ดและดอกไม้ ซึ่งสื่อความหมายของความรักมาแต่ไหนแต่ไรแล้วก็ได้ และอาจจะรวมไปถึง การที่ช็อคโกแลตเคยเป็นสัญลักษณ์ของ เสรีภาพ มิตรภาพ และสันติภาพ ในช่วงที่ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงด้วยก็ได้
แม้หลายคนจะกังวลว่า "กินช็อคโกแลตวันนี้ จะอ้วนพีในวันหน้า" ก็ยังไม่วาย เผลอ เห็นใกล้มือเมื่อไหร่ก็คว้าเข้าปากง่ายๆ แบบลืมตัวอยู่เสมอๆ บางคนก็บอกว่า ช็อคโกแลตสามารถเพิ่มพลังทางเพศได้ ก็อาจจะเป็นได้ เพราะน้ำตาลในช็อคโกแลต ไปกระตุ้นการทำงานของก้านสมองที่ควบคุม Basic Instinct ของมนุษย์ ให้ทำงานได้ก้าวหน้ากว่าสมองจริงๆ ก็ได้นะคะ หวังว่าข่าวนี้จะไม่แพร่ ออกไปก่อนวาเลนไทน์หลายวันนัก เกรงเหลือเกินค่ะว่า ช็อคโกแลตจะขาดตลาด หนุ่มสาวหลายคู่อาจจะพลาดการให้ ช็อคโกแลตกันในวันวาเลนไทน์ เพราะหาก ช็อคโกแลตทำหน้าที่ได้คล้ายไวอากร้า แต่ราคามหาชนอย่างนี้มีหวังเกิดการกักตุน กันแน่นอนเลยค่ะ
วาเลนไทน์ปีนี้หลายคน คงยังนึกไม่ออกเลยว่า จะมีใครกรุณาส่งของขวัญวาเลนไทน์ประเภทดอกไม้กับช็อคโกแลตมาให้บ้าง แต่จะกระซิบอะไรบางอย่างกับคนที่กำลังกังวลว่า อย่ารอให้ใครส่งมา เราโทรไปสั่งเองดีกว่าแล้วลงชื่อใครก็ได้ ที่เราคิดว่าอยากให้เป็นคนส่ง แล้วให้คนส่งของขวัญนั้นมาถึงเราในช่วงเวลาที่มีคน อยู่เยอะๆ นะคะ จะได้ไม่น้อยหน้าคนอื่น แต่อย่าลืมกำชับกับคนส่งนะคะว่าไม่ให้เขา มาเก็บสตางค์ค่าดอกไม้ในเวลานั้นด้วย เดี๋ยวแผนจะเสียหมด แทนที่จะได้หน้าบาน เป็นจานเชิงก็อาจจะกลายเป็นขายหน้าห้าเบี้ยหกบาทขึ้นมา แล้วจะหาว่าไม่เตือนให้รอบคอบนะเจ้าคะ

กลับไปหน้ารู้ไว้ใช่ว่า สาระน่ารู้

 

 

 

เรื่องดีๆ ที่อยากให้อ่านด้วย


น้ำตาล….ความหวานที่มีผลต่ออารมณ์ก้าวร้าว

พี่น้องแห่งความหวาน น้ำผึ้งกับน้ำตาลสมานแผล
 

เมนูอาหารไทยแนะนำ
 
 


Copyright © 2013 Thaifood DB dot com. All rights reserved.
For more information please contact webcookie